นิทรรศการธีมงาน Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
Principal Curator: เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung)
Executive Curator: นาดา อินทพันธ์
นิทรรศการ THEME: COLLECTIVE LANGUAGE
มีจุดประสงค์ให้ผู้เข้าชมนิทรรศการทั้งผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรม และบุคคลทั่วไปสัมผัสภาษาในรูปแบบ “ภาษาสถาปัตยกรรม” เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะองค์ประกอบสถาปัตยกรรมร่วมสําคัญในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเนื้อหาถูกจัดแสดงผ่าน 12 ผลงานที่มีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และจากสมาคมพันธมิตร 21 ประเทศใน The Architects Regional Council Asia (ARCASIA)
โดยรวบรวมนําเสนอออกเป็น 2 ส่วน
จัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรม จาก 12 สถาปนิกในเอเชีย นําเสนอกลุ่มภาษาที่ภัณฑารักษ์หลัก เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และนาดา อินทพันธ์ ถอดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเพื่อบอกเล่าถึงลักษณะสําคัญของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียนี้ และนําไปสู่การตั้งคําถามถึงภาษาอื่นๆ ในสถาปัตยกรรมที่จะกลายเป็นภาษากลางที่ใช้ร่วมกันในอนาคต
ร่วมกับการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตร 21 ประเทศใน The Architects Regional Council Asia (ARCASIA) รวมกันเป็นกลุ่มภาษาที่ถอดจากองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม เพื่อสื่อสารถึงทิศทางของภูมิภาคใน อนาคตเช่นกัน
นิทรรศการ THEME: COLLECTIVE LANGUAGE ถ่ายทอดอัตลักษณ์ร่วมทางภาษาสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียที่มีความหลากหลาย ผ่านตัวอย่างผลงานของ 12 สถาปนิก มีมิติทางภาษาที่เชื่อมโยงกัน แต่อาจมีวัตถุประสงค์การสื่อสารที่แตกต่าง โดยทางภัณฑารักษ์ถอดการแบ่งกลุ่มภาษาร่วมออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
SHADING
กลุ่มภาษาสถาปัตยกรรมที่มีองค์ประกอบหลักสะท้อนถึงเรื่องสภาพเศรษฐกิจ บริบทของเมือง สภาพภูมิประเทศสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน ซึ่งมีอิทธิพลแตกต่างกันไป สถาปัตยกรรมจึงมีส่วนช่วยปรับตัวให้ผู้ใช้อาคารเข้ากับการเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อสารผ่านหน้ากากอาคาร (SCREEN) ระบบควบคุมการหมุนเวียนการควบคุมอากาศ (THERMAL COMFORT) สร้างระบบนิเวศโอบอุ้มเพื่อปรับสภาพสิ่งมีชีวิตภายในให้เข้ากับของอาคาร (FOSTERING RESILIENCE) และสามารถอยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงภายนอกจนเกิดภาวะอยู่สบาย
Lilava Lalbhai Library ออกแบบโดย RMA Architects ผลงานจากประเทศอินเดีย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2017
Nurse Dormitory Chulalongkorn Memorial Hospital ออกแบบโดย Plan Architect ผลงานจากประเทศไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2021
Kampung Admiralty ออกแบบโดย WOHA ผลงานจากประเทศสิงคโปร์ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2017
Urban Farming Office ออกแบบโดย VTN Architects ผลงานจากประเทศเวียดนามสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2022
HUMANITY
กลุ่มภาษาสถาปัตยกรรมที่มีองค์ประกอบหลักสะท้อนถึงแนวความคิดภาพรวม และวัตถุประสงค์การใช้งานของพื้นที่สถาปัตยกรรมทํางานผ่านองค์ประกอบจากความนึกคิดของผู้ออกแบบ ด้วยการสร้างมาตรส่วน (SCALE) รูปทรง ทําให้เกิดการแบ่งขนาดของพื้นที่จนเกิดปริมาตร (VOLUME) และการใช้ผิวสัมผัสของวัสดุที่แตกต่างกัน (CONTRAST)กระตุ้นการรับรู้ของผู้ใช้พื้นที่ให้แยกแยะความแตกต่างระหว่างมิติพื้นที่ที่หลากหลาย
The New Tsuruoka Cultural Hall ออกแบบโดย SANAA ผลงานจากประเทศญี่ปุ่ น สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2017
Space K Seoul ออกแบบโดย Mass Studies ผลงานจากประเทศเกาหลีใต้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2020
Machine House ออกแบบโดย Small Project ผลงานจากประเทศมาเลเซีย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2019
Santani Wellness Resort and Spa ออกแบบโดย Thisara Thanapathy Architects ผลงานจากประเทศศรีลังกา สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2016
RITUAL
กลุ่มภาษาสถาปัตยกรรมที่มีองค์ประกอบหลักสะท้อนถึงวัฒนธรรม ความเชื่อ ศูนย์รวมทางจิตใจของกลุ่มคน ซึ่งมีส่วนสัมผัสได้และไม่ได้ บทบาทของสถาปัตยกรรมจึงลึกซึ้งถึงการเชื่อมรูปแบบความสัมพันธ์ทางนามธรรมกับผู้คนในรูปแบบกายภาพ ด้วยการหยิบยกมูลค่าทางวัฒนธรรม (LEGACY) ของท้องถิ่นทั้งเทคนิค วัตถุ รูปทรง ทําปฏิกิริยากับเวลาและธรรมชาติ (TIME AND NATURE) โดยใช้พื้นที่ซึ่งจํากัดและบีบคั้นความรู้สึกด้วยขนาด (OVERSCALE)ล้อมกรอบภาษาที่ไร้ตัวตนอยู่ในภาวะที่ผู้ใช้อาคารจับต้องได้
Jingdezhen Imperial Kiln Museum ออกแบบโดย Studio Zhu Pei ผลงานจากประเทศจีน สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2020
Bait Ur Rouf Jame Mosque ออกแบบโดย Marina Tabassum Architects ผลงานจากประเทศบังกลาเทศ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2012
Tubaba Mosque ออกแบบโดย andraman ผลงานจากประเทศอินโดนีเซีย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ. 2017
100 Walls Church ออกแบบโดย CAZA ผลงานจากประเทศฟิลิปปินส์ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2013
Comments